ยุทธการปลดหนี้

***ยุทธการปลดหนี้  คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้  แต่เมื่อเป็นแล้วก็ต้องหาทางแก้ สู้ต่อไป
คุณเป็นหนี้เพราะอะไร ?
. คุณเป็นหนี้เพราะ…ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน ชอบลืมตัวเมื่อเจอของถูกใจ หรือมีสินค้าใหม่ ๆ ออกมา


คุณเป็นหนี้เพราะ…กู้เงินมาหมุนเพื่อเอามากินมาใช้ เพื่ออาไปใช้หนี้ของอีกเจ้าหนึ่งและอีกเจ้าหนึ่ง
คุณเป็นหนี้เพราะ…อยากให้ลูกเมียมีความสุข มีฐานะทัดเทียมเพื่อนบ้าน 
คุณเป็นหนี้เพราะ…บ้าบอล ชอบเล่นการพนัน มัวเมาสุรา ยาเสพติด
คุณเป็นหนี้เพราะ…เงินเดือนต่ำ รายได้น้อย
คุณเป็นหนี้เพราะ…มีภาระทางครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบมาก ต้องเลี้ยงตัวเองและครอบครัว รวมทั้งบุพการี 
คุณเป็นหนี้เพราะ…หางานทำไม่ได้ หรือเพิ่งถูกไล่ออกจากงาน 
คุคุณเป็นหนี้เพราะ…ณเป็นหนี้เพราะ…ไม่ขยัน ที่จะหางานพิเศษหรือรายได้อื่น ๆ เพิ่มเติมคุณเป็นหนี้เพราะ…กู้เงินเอามาลงทุนแต่ธุรกิจฝืดเคือง รายรับน้อยกว่าหรือพอ ๆ กับรายจ่ายต้องกู้เงินมาหมุนอีกจนเป็นหนี้เพิ่มพูน

 คำแนะนำเกี่ยวกับการปลดหนี้ในหนังสือหลายเล่ม มักจบด้วยข้อแนะนำให้ลูกหนี้ประหยัด ให้มีวินัยทางการเงิน เมื่อคุณมีรายจ่ายน้อยกว่ารายรับ แน่นอนคุณก็ไม่จำเป็นต้องก่อหนี้ แต่ในความเป็นจริง หนี้สินส่วนหนึ่งก็เกิดขึ้นเพราะความจำเป็น แต่เหตุที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยปลดหนี้ไม่สำเร็จ ก็เพราะมีการคิดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่เอารัดเอาเปรียบหรือผิดกฎหมาย มีการส่งเสริมการขายหรือยุยงให้ผู้คนพากันเป็นหนี้มากขึ้น รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เข้ามาจัดการปัญหาไม่ถูกจุดและล่าช้า ทำให้การชำระหนี้คืนดูเหมือนจะไม่มีวันจบสิ้น เพื่อให้ลูกหนี้สามารถปลดหนี้อย่างได้ผลและได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง จึงจำเป็นที่ลูกหนี้จะต้องมีความรู้เท่าทันในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

วิธีการปลดหนี้จากบทเรียนของคนเป็นหนี้

     แนวทางในการปลดหนี้ นี้เป็นข้อแนะนำที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคนที่เป็นหนี้และเคยเป็นหนี้ รวมไปถึงผู้มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org ในส่วนของชมรมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อ

ความแตกต่างของหนี้ในระบบ-หนี้นอกระบบ
      ในการที่จะแก้ปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ก่อนอื่นต้องแยกหนี้ออกตามสภาพปัญหาก่อน เพราะแต่ละกลุ่มจะมีวิธีการในการจัดการปัญหาที่แตกต่างกัน โดยแยก หนี้ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะปัญหาคือ หนี้ในระบบ กับ หนี้นอกระบบ 
หนี้ในระบบ ก็คือ หนี้ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาระบุหนี้ไว้เท่าไร ลูกหนี้ก็ได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญา และเจ้าหนี้ก็เรียกเก็บดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำหนด โดยเจ้าหนี้ประเภทนี้ก็แบ่งได้อีกเป็น 
     1. เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร (แบงค์) ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ให้บริการสินเชื่อ 
     2. เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงค์) เช่น บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อต่าง ๆ ทั้งสินเชื่อเงินสด สินเชื่อเช่าซื้อสินค้า หรือบัตรเครดิต 
     3. เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งให้กู้ยืมเงิน 

หนี้ประเภทที่ 2 ก็คือ หนี้นอกระบบ หนี้กลุ่มนี้ จะว่าไปแล้วก็คือ หนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอารัดเอาเปรียบลูกหนี้ ประเภท กู้ 30,000 บาท แต่ในสัญญาเขียน 300,000 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 120 ต่อปี อย่างที่เห็นโฆษณาเงินด่วนที่ปะอยู่ตามเสาไฟฟ้า หรือสะพานลอยพวกนั้นแหละ

แนวทางการปลดหนี้ในระบบ

     แนวทางแรก คือ การใช้กระแสเงินสดที่คุณได้รับในแต่ละเดือน หักด้วยค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย แล้วดูว่าเงินที่เหลือพอผ่อนชำระหนี้หรือไม่ หนี้มีอยู่กี่เจ้า กี่ราย ต้องชำระเดือนละเท่าไหร่ ตัดเงินต้นได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าทำได้ก็เลือกทางนี้ ไม่แนะนำให้ไปกู้ยืมเพิ่มเติมมาใช้หนี้ เพราะจะทำให้คุณเป็นหนี้ไม่มีที่สิ้นสุดและเสี่ยงต่อการถูกโกงของเจ้าหนี้นอกระบบ

     แนวทางที่สอง หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการเก็บดอกเบี้ยในอัตราเกินกฎหมายกำหนดที่ร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลของบริษัทเครดิตสินเชื่อ ถึงแม้คุณจะมีรายได้พอจะใช้หนี้ก็ให้คุณชำระคืนจนครบเงินต้นเท่านั้น แล้วให้หยุดชำระหนี้ทันที


     แนวทางที่สาม ถ้าคำนวณรายรับที่คุณมีแล้ว มีพอเพียงแค่ใช้จ่ายในครัวเรือน ไม่พอผ่อนชำระหนี้ ด้วยเหตุที่มีมูลหนี้สูง หรือมีหนี้อยู่หลายเจ้า ผ่อนไปก็ได้เพียงแค่ดอกเบี้ยแต่เงินต้นแทบไม่หด ถ้าจะชำระมากกว่านั้นครอบครัวก็จะไม่มีอะไรกิน อย่างนี้ส่งไปจนตายก็ไม่เกิดผลอะไรกับคุณ จึงมีข้อแนะนำว่าให้คุณหยุดชำระหนี้เช่นกัน เพื่อรอให้ทางเจ้าหนี้ฟ้องศาลเพื่อการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ข้อดีของการถูกฟ้องคดีหนี้สินในศาล

      การยอมให้เจ้าหนี้ฟ้องศาลนับเป็นทางเลือกที่เป็นธรรมที่สุดสำหรับเจ้าหนี้และลูกหนี้ การขึ้นโรงขึ้นศาล อาจฟังดูน่ากลัวสำหรับคนทั่ว ๆ ไป แต่จริง ๆ แล้ว คดีหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นคดีแพ่ง การนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ คือ 
     1. เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ การถูกฟ้องศาลจะช่วยให้ลูกหนี้ที่หยุดชำระหนี้เพราะมีหนี้อยู่มากหรือมีหลายราย จนรายได้ไม่พอที่จะชำระคืนได้หมดทุกรายในเวลาพร้อม ๆ กัน มีเวลาตั้งตัวไม่ต้องนำเงินเดือนไปใช้หนี้จนหมด ยังพอเหลือกินเหลือใช้ประจำวัน หนี้สินจะได้ไม่บานปลายเพราะมัวแต่ไปกู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้หนี้ ทำให้ลูกหนี้มีกำลังใจทำงาน เก็บเงินก้อนเพื่อนำเงินไปใช้คืนหลังจากที่มีคำพิพากษาออกมา ซึ่งกว่าศาลจะมีคำพิพากษาก็นานพอที่ลูกหนี้จะหายใจหายคอได้สะดวก 
     2. ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ในศาลได้ และที่สำคัญ ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าติดตามทวงถามที่สูงเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือดอกเบี้ยที่แฝงมาในรูปของการคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่ซ้ำซ้อน ทำให้ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงมาก ๆ เหล่านี้ ลูกหนี้ไม่ต้องจ่าย เพราะศาลจะสั่งให้เป็นโมฆะ

     3. การบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้ เพราะการบังคับคดีในกระบวนการยุติธรรม ลูกหนี้ยังพอที่จะเหลือเงินเพื่อเลี้ยงชีพได้บ้าง ไม่ใช่ถูกทวง ถูกขู่จนต้องเอาเงินเดือนไปใช้หนี้จนแทบไม่มีจะกิน ไม่พอเลี้ยงครอบครัวอย่างที่ลูกหนี้หลายคนเจอปัญหาอยู่ในขณะนี้ 

แหล่งที่มา :  http://debtclub.consumerthai.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น