พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน จังหวัดเชียงราย

  พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน จังหวัดเชียงราย >> เที่ยวเมืองไทย

พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เมืองเชียงแสนเป็นดินแดนที่มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีนามว่า พระเจ้าล้านตื้อ (ตื้อ เป็น หน่วยนับของทางภาคเหนือแปลว่า โกฎิ) ที่จมอยู่ใน ลำน้ำโขง ซึ่งปัจจุบันบริเวณดังกล่าว อยู่หน้าที่ว่าการ อำเภอ เชียงแสน ดังมีประวัติ ความเป็นมาบางตอนปรากฏชัดอยู่ในประวัติศาสตร์ ต่อมาได้มีการค้นพบ เปลวรัศมี ในลำน้ำโขง เชื่อว่าเป็นของพระเจ้าล้านตื้อ หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดความสูง 70 เซนติเมตร เมื่อคำนวณเทียบ สัดส่วน แล้ว จะมีความกว้างของหน้าตักองค์พระประมาณ 9.00 เมตร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน คณะผู้ออกแบบมีความเห็นว่า ในบรรดาพระพุทธรูปเชียงแสนที่มีอยู่หลายแบบ พระพุทธรูปปางมารวิชัย “สิงห์หนึ่ง” มีพุทธลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามยิ่ง มีความล่ำสันสมบูรณ์บึกบึน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เพราะสร้างขึ้นในช่วงแรกๆของการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น มีศึกสงครามอยู่อย่างต่อเนื่อง พุทธลักษณะ จึงดู เข้มแข็ง สำหรับการสร้างพระพุทธนวล้านตื้อ ใน พ.ศ. 2547 นี้ เกิดจากความตั้งใจร่วมกันของกระทรวงมหาดไทย โดยนายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะสงฆ์โดย พระธรรมราชานุวัตร รองเจ้าคณะภาค 6 วัดพระแก้ว พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ และจังหวัดเชียงราย โดย นายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นช่วงที่ ี่บ้านเมือง เจริญรุ่งเรืองและเศรษฐกิจดี ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุข มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และดินแดนเชียงแสนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ และแหล่งประวัติศาสตร์อารยธรรม รวมทั้งพระเจ้าล้านตื้อ ถือเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนในอนุภาค ลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งหากค้นพบและนำขึ้นมาจากลำน้ำโขงได้ ก็อาจจะมีปัญหาใน การอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ จนอาจกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และพุทธศาสนิกชนในอนุภาค ลุ่มน้ำโขงได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเห็นชอบร่วมกันว่า ควรจะถือเอาพระพุทธรูปเชียงแสนสี่แผ่นดิน ที่ได้จัดสร้าง ไว้ถวายเป็นมหามงคลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ณ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เป็นองค์แทน พระเจ้าล้านตื้อ โดยร่วมใจกันถวายนามว่า “พระพุทธนวล้านตื้อ เชียงแสนสี่แผ่นดิน เฉลิมพระเกียรติ” และการออกแบบมีความอ่อนช้อยสวยงามสอดคล้องกับอุดมคติของสมัยปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น